รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง
เป็นตัวอย่างของสิมทึบพื้นบ้านบริสุทธิ์ (ข. ๑.๒) แบบมีเสารับปีกนก(ข. ๑.๒.๒) ขนาด ๓ ช่วงเสา กว้าง ๓.๘๕ เมตร ยาว ๖ เมตร หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวมีปีกนกคลุมโดยรอบ สวนหน้าบันทำเรียบมีชานจั่ว, โหง่และหางหงส์ไม้ ตัวสิมตั้งอยู่บนฐานปัทม์ยกสูง ๘๐ ซม. จากพื้นดินฐานแอวขัน สูง ๑ เมตรเศษ มีเสาไม้ ๔ เหลี่ยมนางเรียงรับหลังคาปีกนกตลอดทั้ง ๔ ด้าน รวม ๒๐ ต้น มีประตู ๑ บาน มีช่องหน้าตาง (ป่องเอี้ยม) ด้านข้างด้านละ ๒ บาน เป็นช่องแคบไม่มีบานหน้าต่าง บันไดปั้นปูนพญานาคแบบศิลปะพื้นบ้านอีสานได้รับการบูรณะเปลี่ยนเครื่องมุงเป็นสังกะสีทั้งหลัง จุดเด่นของสิมหลังนี้อยู่ที่ฮูปแต้ม ซึ่งมีทั้งด้านนอกและด้านใน นับเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านที่สวยงามมากทั้งทางองค์ประกอบและรายละเอียดเขียนด้วยสีฝุ่นมีวรรณเย็น สีสวนใหญ่ใช้สีคราม ฮูปแต้มผนังด้านในเป็นเรื่องพุทธประวัติ พระมาลัยและพระอดีตพุทธะ ด้านนอกเป็นเรืองรามเกียรติ์และเวสสันดรชาดก ลักษณะพิเศษของฮูปแต้ม ในสิมหลังนี้จะไม่เหมือนกับผู้อื่นเพราะยังเขียนไม่เสร็จ ช่างแต้มได้ย้ายบ้านไปอยู่แห่งอื่น ทำให้เห็นวิธีการเขียนแต่ละขั้นตอนได้ชัดเจน กล่าวคือ ส่วนใหญ่จะลงพื้นด้วยสีน้ำตาลอ่อนแล้วรางภาพเขียนสีภาพอาคาร ต้นไม้ ลำน้ำ ภาพสัตว์ และภาคบุคคล เป็นขั้นสุดท้าย แล้วตัดเส้นกับรายละเอียดอย่างประณีต คุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของศิลปกรรมชิ้นนี้ที่สำคัญยิ่ง คือ ช่างแต้มได้เขียนสอดแทรกภาพการทอผ้า การสรงน้ำพระ (ฮดสง) การทำบุญตักบาตรและการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น